23 April 2008

Simple Love by Alison Krauss

Artist: Alison Krauss lyrics
Album: A Hundred Miles Or More: A Collection
Year: 2007
Title: Simple Love

Little yellow house sittin' on a hill
That is where he lived
That is where he died
Every Sunday morning
Hear the weeping willows cry

Two children born
A beautiful wife
Four walls and livin's all he needed in life
Always giving, never asking back
I wish I had a simple love like that

I want a simple love like that
Always giving, never askin' back
For when I'm in my final hour lookin' back
I hope I had a simple love like that

My momma was his only little girl
If he'd had the money he'd have given her the world
Sittin' on the front porch together they would sing
Oh how I long to hear that harmony

I want a simple love like that
Always giving never asking back
When I'm in my final hour looking back
I hope I had a simple love like that

I want a simple love like that
Always giving never asking back
When I'm in my final hour looking back
I hope I had a simple love like that.

14 April 2008

My Oh My

เพลงเก่าของ Slade ตั้งแต่ปี 1983 นำมาร้องใหม่แบบคันทรี่ ได้อารมภ์แบบลูกทุ้ง ลูกทุ่ง
เสียงโดโบรเข้ามาแทนที่ดิสทรอชั่นกีต้าร์ ไพเราะมากมาก ชอบ ชอบ

My Oh My
by Slade
New cover by The Pacemakers

I believe in woman, my oh my
I believe in lovin', my oh my
Don' a women need a man
Try and catch one if you can
I believe in woman, my oh my
We all need someone to talk to, my oh my
We all need someone to talk to, my oh my
Ya need a shoulder to cry on
Call me, I'll be standing by
We all need someone to talk to, my oh my
We all need a lot of lovin', my oh my
Yeah, an' a whole lot of lovin', my oh my
I can lend a helpin' hand if you ain't got nothing planned
We all need some lovin', my oh my

So lets all swing together, my oh my
We can all swing together, my oh my
You've got troubles of your own
No need to face them all alone
We can all swing together, my oh my
So lets all pull together, my oh my
Let us all pull together, my oh my
We can ride the stormy weather
If we all get out and try
So lets all pull together, my oh my
Let us all pull together, my oh my....

12 April 2008

หากินแบบ "โสตาย"


วันนี้(12 เมษายน 2551) เริ่มเทศกาลวันหยุดสงกรานต์ ขับรถผ่านไปเจอรถบัสของ"กายกรรมรุ่งรัศมี" หากินแบบโสตาย คำว่า "โสตาย" เป็นภาษาอีสาน แปลว่า ยอมตาย ดูจากสภาพรถของคณะกายกรรมแล้ว ต้องยอมรับว่า "โสตาย" จริงๆ

06 April 2008

Participation in Vocational Education for Sustainable Development

การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(Participation in Vocational Education for Sustainable Development)
ปกรณ์ ลวกุล (นักศึกษา ปริญญาเอก สาขาการบริหารอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สจล.)

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
อนาคตของมนุษยชาติจะดำรงชีวิตอยู่รอดในระยะยาวได้หรือไม่ บนโลกที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านบวกและลบ Paul A. Laudicina (2005) เสนอแนวคิดเพื่อสร้างความ ตระหนักในการปฏิบัติตนและสร้างความเข้าใจถึงสภาพการเปลี่ยนแปลงไปของโลกภายนอกที่ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญๆ 5 ประการที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต อันได้แก่ 1) การเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัตน์ 2) การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างประชากรของโลก 3) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มใหม่ 4) ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5) แนวโน้มการวางระเบียบกฎเกณฑ์และการเรียกร้องเพื่อปกป้องผลประโยชน์ระหว่างชาติ
ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นนี้อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนากระบวนการจัดการที่ขาดการบูรณาการ โดยไม่ คำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน การจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่เกิดจากภาวะการเปลี่ยนแปลงของประชากรอันเนื่องมาจากจากการคุมกำเนิดรวมถึง เทคโนโลยีการรักษาพยาบาลที่พัฒนาขึ้นทำให้มีประชากรผู้สูงอายุ เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก อีกทั้งผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกป้องผลประโยชน์ระหว่างชาติ
ทำให้มีผู้ลี้ภัย และผู้พิการเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามลำดับ

อาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
องค์การยูเนสโก(2550) ได้เน้นย้ำถึงการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Education for Sustainable Development : ESD) ให้เป็นวาระของโลก ด้านการศึกษาในระยะ 10 ปี (คศ.2005-2014) โดยเน้นย้ำถึงการให้การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้นการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงเป็นการศึกษาสำหรับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย และทุกสถานภาพของการเรียนรู้ การศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสามารถทำให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานหลายหน่วยงาน ทั้งหน่วยงานของ ภาครัฐและภาคเอกชน ความร่วมมือนี้อาจทำได้โดยการใช้รูปแบบและยุทธวิธีที่หลากหลายทั้งในส่วนของการประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้ และการฝึกอบรม เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษามีความเข้าใจสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
Lauglo and Maclean (2005) กล่าวว่าการศึกษาคือกุญแจแห่งความสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาถือเป็นกุญแจหลัก (Master key) ของการพัฒนา โดยให้เหตุผลว่าการอาชีวศึกษามีบทบาทสำคัญในการผลิตกำลังคนสู่โลกของแรงงานทั้งหมด จากตัวเลขทางสถิติ ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization and International Center for Technical and Vocational Education and Training(UNESCO,UNEVOC) (2007) พบว่าประมาณร้อยละ 80 ของภาคแรงงานทั้งหมด ต้องการกำลังคนด้านอาชีวศึกษาเป็นหลัก
การจัดการศึกษาอาชีวศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้จบการศึกษามีอาชีพ สู่โลกของการมีงานทำ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การบริหารจัดการศึกษาการอาชีวศึกษาจึงมีส่วนเกี่ยวข้องและเชื่อมโยง ทั้งทางด้านสังคม และด้านการศึกษา ในส่วนของการผลิตกำลังคนเข้าสู่ภาคแรงงาน ทั้งในด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับมิติด้านแรงงาน ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการผลิต ผลกระทบต่อมลภาวะที่เปลี่ยนแปลง และด้านวัฒนธรรมที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสังคม

การมีส่วนร่วม ในการพัฒนา
ความเกี่ยวข้องกันของทุกภาคส่วนสามารถจำลองเป็นโมเดลกรอบแนวคิดการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนี้

องค์ประกอบสำคัญทั้งสามส่วน ได้แก่ การจัดการศึกษาอาชีวศึกษา กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก และการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องได้รับการสำรวจเพื่อการวิจัยและพัฒนาร่วมกันบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน ต้องศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยทั้งมิติภายในและมิติภายนอกที่มีผลกระทบระหว่างกันทั้งที่เกื้อกูลต่อกันและต่อต้านกัน ประการสำคัญคือผลของการวิจัยและพัฒนานั้นต้องบูรณาการไปสู่การมีส่วนร่วมเพื่อนำไปปฏิบัติจริงให้บังเกิดผล
หน่วยงานทุกภาคส่วนต้องหาวิธีการในการประสานความร่วมมือให้ครอบคลุมทั้งมิติของการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา มิติการพัฒนาอย่างยั่งยืน และบริบทของสิ่งแวดล้อม สังคมเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม โดยเป็นความสัมพันธ์ที่ต้องมีกรอบแนวคิดบนพื้นฐานการวิจัยและพัฒนา ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงการปรับเปลี่ยนดังกล่าวและปลูกฝังวัฒนธรรมใหม่ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมของทุกหน่วยงาน (Corporate Social Responsibility: CSR)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จากรูปแบบโมเดล ของ Dr.Harry Stolte สามารถเทียบเคียงแสดงให้เห็นถึง การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ว่าการมีส่วนร่วมในการพัฒนา ผู้มีส่วนร่วมหรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Steak Holder) ที่เกิดขึ้นจากทั้งก่อนการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา ระหว่างการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาและผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา ในส่วนของครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยต่างๆ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น องค์กรเอกชน ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ เป็นต้น
หากจะพิจารณาเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นจะเห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยสถาบันการศึกษา สถานประกอบการที่เป็นผู้ใช้แรงงาน องค์กรปกครองท้องถิ่นในพื้นที่นั้น และ หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลการจัดการศึกษา องค์กรดังกล่าว ควรร่วมมือกันในการพิจารณาหาแนวทางการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างกว้างขวางและเป็นรูปธรรม โดยคำนึงถึงกระแสความเปลี่ยนแปลงในการจัดการที่เป็นสากล เนื่องจากปัจจุบัน การพัฒนาในระดับมหภาค ต้องพิจารณาผลกระทบของการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่ส่งผลต่อการพัฒนาไปยังอีกพื้นที่หนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ การตระหนักถึงผลกระทบที่มีต่อภาพรวมในระดับพื้นที่ต่อพื้นที่ ชุมชนต่อชุมชน ภูมิภาคต่อภูมิภาค และในระดับประเทศต่อประเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

แนวทางสู่การปฏิบัติจริง
การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามข้อเสนอของที่ประชุม UNESCO นั้น มีความน่าสนใจอย่างยิ่งต่อความหมายของบริบทการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาในประเทศไทย โดยมิอาจหลีกเลี่ยงต่อประเด็นดังกล่าวได้ เนื่องจากความจำเป็นของประเทศในการที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่อประเทศอื่นๆ ประเด็นของการนำไปสู่การปฏิบัติจริงที่ควรต้องคำนึงถึงเพื่อนำไปสู่การจุดประกายความคิดและนำไปสู่การอภิปรายอย่างกว้างขวางคือ ในส่วนของการปรับปรุงกระบวนการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับอุปสงค์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่ 21 ที่เกิดขึ้นจากการปฏิวัติระบบข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยี สำหรับการปรับปรุงระบบการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมที่เชื่อมโยงโลกของการศึกษาและโลกของการอาชีพเข้าด้วยกัน รวมถึงการใช้นวัตกรรมในการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะที่สัมพันธ์สอดคล้องกับกระบวนการผลิต ทั้งนี้การเตรียมบุคลากรเข้าสู่โลกของการทำงาน โดยไม่มีข้อจำกัด การส่งเสริมแรงงานสตรี ผู้พิการ เยาวชนนอกระบบโรงเรียน ผู้เกษียณอายุ ผู้ลี้ภัย และผู้ด้อยโอกาสต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้บทบาทใหม่ในรูปนโยบายของภาครัฐบาล และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ประเด็นสุดท้ายคือการส่งเสริมและสอดรับของความร่วมมือระดับชาติ ด้านการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา (ชินภัทธ:2542)

ลักษณะ และวิธีการมีส่วนร่วม
จากหลักการมีส่วนร่วมตามแนวคิดของ Cohen and Uphoff (1980) อคิน รพีพัฒน์ (2527)และไพรัตน์ เดชะรินทร์(2527) ในส่วนของลักษณะของการมีส่วนร่วมที่ควรนำไปสู่ปฏิบัติตามลำดับขั้น ดังนี้
1) การมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไข โดยการเข้าร่วมประชุม แสดงความคิดเห็น ให้ข้อมูล ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่จะเลือกจัดทำโครงการต่างๆ 2) การมีส่วนร่วมในการวางแผน ในส่วนของการมีส่วนร่วมในการรับรู้การวางแผนการดำเนินงาน 3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ การทำประโยชน์ตามโอกาสและตามกำลังความสามารถ การช่วยเหลือด้านวัสดุอุปกรณ์ ทุนทรัพย์และแรงงานหรือโดยการบริหารงานและประสานงานตลอดจนดำเนินการขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา 4) การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงาน เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ การมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา แก้ไขสิ่งบกพร่องและสรุปผลการดำเนินงาน และ 5) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์จากการดำเนินการ ทั้งนี้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์จากการเข้าร่วมพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น แรงจูงใจด้านภาษี การนำระบบการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจมาสู่การปฏิบัติ เป็นต้น

บทสรุปเพื่ออนาคต
การนำแนวความคิดของการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนดังกล่าวไปสู่การฏิบัตินั้น เงื่อนไขความสำเร็จที่สำคัญอยู่ที่การได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังทั้งระดับองค์กรปกครองท้องถิ่น และ ภาครัฐ โดยมีการวิจัยและพัฒนาควบคู่ไปกับการสร้างความร่วมมือ เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายที่ชัดเจน โดยรัฐจะต้องสร้างบรรยากาศแห่งความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนกับทุกภาคส่วนของสังคมภายใต้กรอบของกฎหมายที่เอื้อต่อการปฏิบัติ และมีมาตรการเชิงกลยุทธ์ที่สามารถจูงใจให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาที่เชื่อมโยงสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและตระหนักถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

คำสำคัญ (Key words): Paticipations; Vocational Education; ESD(Education for Sustainable Development; CSR (Corporate Social responsibility)
--------------------------------------------------

เอกสารอ้างอิง

- Cohen. J and Uphoff.D. 1980. Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Desing Implementation and Evaluation Rural Development Center New York :
Cornell University.
- Harry Stolte. 2007. General methodological approaches to introduce innovations in TVET Teacher education towards ESD : International Consultation on Education for Sustainable Development International Consultation Meeting : TVET Teacher Education towards Sustainability Chiangmai, August 2007
- Lauglo and Maclean. 2005. Vocationalisation of Secondary Education Revisited : Springer International in collaboration with World Bank and UNESCO-UNEVOC
- Martin Carnoy. 1999. Grobalization and educational reorm:what planners need to know. Paris : UNESCO
- Paul A. Laudicina. 2005. World Out of Balance: Navigating Global Risks to Seize Competitive Advantage. New York: McGraw-Hill
- TVET for Sustainable Development. 2006. International Experts’ Meeting in Ho Chi Minh City
Vietnam 2–5 July 2006
- UNESCO and ILO Recommendations. 2002. Technical and Vocational Education and Training for Twenty-first Century
- การศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. 2550. [On line]. Available :
http://www.unescobkk.org/index.php?id=3809
- การพัฒนาอย่างยั่งยืน. 2550. [On line]. Available :
http://www.unescobkk.org/fileadmin/user_upload/shs/BEfiles/chapterB.tha/B6Th.doc
- ชินภัทธ ภูมิรัตน. 2542. สรุปผลการประชุมคองเกรสนานาชาติ ครั้งที่ 2 เรื่อง เทคนิคศึกษาและอาชีวศึกษา ณ กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี 26-30 เมษายน 2542. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
- ไพรัช เดชรินทร์. 2527. นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนาปัจจุบัน
ใน ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา : กรุงเทพมหานคร
ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล
- สถาบันนวัตกรรมวชิรจันทร์. 2550. การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development). [On line]. Available : http://tiger.co.th/index.php
- สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2549. การมีส่วนร่วมจัดการศึกษาของเอกชน องค์กรปกครองท้องถิ่น
พ่อแม่ ผู้ปกครอง และการศึกษาทางเลือก. กรุงเทพฯ : วี ที ซี คอมมิวนิเคชั่น
- ศิริชัย สาครรัตนกุล. 2548. คอลัมน์ ระดมสมอง ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 29
ฉบับที่ 3705(2905)
- อคิน รพีพัฒน์. 2527. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชนบทในสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทย :
ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล